ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
กันยายน 11, 2024, 02:45:53 pm
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: งานเทศนาธรรม และการสอนปฏิบัติกัมมัฏฐาน
๏ ทุกวันอาทิตย์ท่ี ๑ ของเดือน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ บ้านธรรมยอดไกรศรี ๑๒๘/๖๘ หมู่บ้านคาซ่าวิลล์ พระราม ๒-๒ ถนนพระรามท่ี ๒ ซอย ๕๐ (ซอยวัดกําแพง) เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
๏ ทุกวันอาทิตย์ท่ี ๒ ของเดือน เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. ณ บ้านคุณหมอศรุตา ฟักนวม จังหวัดนครปฐม
๏ทุกวันศุกร์ถึงอาทิตย์ที่ ๓ ของเดือนมีการเก็บกัมมัฏฐาน ภาคปฏิบัติ ณ สํานักปฏิบัติ อัญญาวิโมกข์โ์พธิรังษี (วัดป่ากล้วยไม้ดิน) บ้านหนองฟักทอง ตําบลปากช่อง อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
๏ แสดงธรรมงานบวชเนกขัมมะประจําปี ณ ศูนย์พุทธศรัทธา บ้านหมอ จ.สระบุรี ในวันมาฆบูชา, วันวิสาขบชูา และวันพ่อ-วันแม่แห่งชาติ (ถ้าธาตุขันธ์องค์หลวงพ่อไม่อาพาธ ก็จะไปมิได้ขาด)
สอบถามรายละเอียดเพ่ิมเติมได้ท่ี คุณสายพิณ โทร. ๐๘-๙๙๐๐-๗๓๙๙ หรือ www.kubajaophet.com
หมายเหตุ : ตารางเวลาอาจมีการเปล่ียนแปลงได้ตามความเหมาะสม

+  ครูบาเจ้าเพชรดอทคอม
|-+  บอร์ดหลัก
| |-+  สาระน่ารู้
| | |-+  สู้กิเลสด้วยปัญญา เพื่อรักษาเพศพรหมจรรย์ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สู้กิเลสด้วยปัญญา เพื่อรักษาเพศพรหมจรรย์ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร  (อ่าน 2302 ครั้ง)
บุญญพลัง
Newbie
*
กระทู้: 2


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 08:20:43 pm »

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
เป็นพระกรรมฐานผู้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
ในปี ๒๕๐๐ ท่านเป็นผู้จัดงานฉลองกึ่งพุทธกาลขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ณ วัดอโศการาม
นับว่าท่านเป็นผู้มีบุญบารมีและศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาอย่างสูงยิ่ง
ดังความปรากฏตอนหนึ่งใน “๒๘ อรหันต์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ดังนี้

“ท่านจึงเป็นผู้ที่ท่านพระอาจารย์มั่นเมตตาและให้การยกย่องว่า
“มีพลังจิตสูง เป็นผู้เด็ดเดี่ยว อาจหาญ เฉียบขาด ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยธรรม”
สมศักดิ์ศรีที่ได้รับความไว้วางใจ จากท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
ให้เป็น “อัศวินแห่งกองทัพธรรมกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต” ที่มีธรรมะเป็นอาวุธ”

แม้จะเปี่ยมด้วยบุญบารมีเพียงใด แต่ยังต้องพบกับอุปสรรคที่ทำให้มีความคิดที่จะลาสิกขา
เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อครั้งท่านอุปสมบทในธรรมยุติกนิกาย
จำพรรษา ณ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เป็นพรรษาที่ ๓
ช่วงก่อนหน้านั้นท่านได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์เพื่อจะออกธุดงค์ แต่ไม่ได้รับอนุญาต

“ในระยะนี้ได้ตรวจดูจิตใจของตนเองรู้สึกว่าเสื่อมในทางปฏิบัติ
คือจิตชักจะหันหน้าไปทางโลกเสียบ้าง ได้คิดต่อสู้อยู่จนตลอดพรรษา
อยู่มาวันหนึ่งได้เกิดความคิดในใจว่า ถ้าเราอยู่ในพระนครนี้เราต้องสึก
ถ้าเราไม่สึก เราต้องออกจากพระนครไปอยู่ป่า”

เมื่อมีความคิดดังกล่าวและก็ไตร่ตรองอยู่หลายครั้ง แต่ระหว่างนั้นก็มีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้น
เหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งท่านเล่าไว้เพื่อเป็นคติเตือนใจ ในอัตตประวัติ มีทั้งหมด ๔ คราว
เรื่องราวแรกเกิดขึ้นในวันหนึ่งที่ท่านรู้สึกท้องผูก ในตอนบ่ายจึงฉันยาถ่าย
โดยคาดว่าจะถ่ายอุจจาระประมาณ ๒๑ นาฬิกา ตามปกติดังที่เคยเป็นมา
แต่ปรากฏว่าในคืนนั้นไม่ได้อุจจาระ และตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นก็ไปบิณฑบาตในตรอกวังสระปทุม

“พอเดินไปถึงหน้าบ้านที่เขาจะใส่บาตร ก็เกิดรู้สึกปวดอุจจาระอย่างหนักจนทนแทบไม่ไหว
จะเดินออกไปรับบาตรก็เดินไม่ได้ ก้าวขาไม่ออก
มัวแต่อดกลั้นขยับขาเดินได้ทีละคืบ ไปถึงป่ากระถินแห่งหนึ่ง
รีบวางบาตรลอดรั้วเข้าป่ากระถิน มันนึกอยากเอาหัวตำดินให้ตายเสียดีกว่า
เมื่อทำธุรกิจเสร็จแล้วก็ออกจากป่าอุ้มบาตรเดินบิณฑบาตต่อไปตามเคย
นนั้นได้ข้าวไม่พอฉัน กลับมาถึงวัดก็ได้เตือนตัวเองว่า
“มึงสึกไปแล้ว ต้องเป็นอย่างนี้ ใครเขาจะมาใส่บาตรให้กิน” เรื่องนี้ได้เป็นคติเตือนใจอย่างดี”

เหตุการณ์ในครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นเมื่อท่านไปบิณฑบาต แถวถนนเพชรบุรี
เช้าวันนั้นยังไม่ได้ข้าวแม้แต่หนึ่งทัพพี แต่กลับประสบเหตุอื่นแทน

“พอดีได้เห็นหญิงแก่อายุประมาณ ๕๐ ปี ไว้ผมมวย กับตาแป๊ะแก่ไว้หางเปีย
ยืนส่งเสียงดังเอะอะอยู่ในห้องแถว ขณะนั้นเราเดินมาถึงตรงหน้าบ้านเขา
ก็หยุดยืนนิ่งดู ประมาณสัก ๒ อึดใจ เห็นยายแก่คว้าไม้กวาดตีหัวตาแป๊ะ
ตาแป๊ะคว้ามวยผมถีบหลังยายแก่ ตัวเองก็เริ่มนึกว่า
“ถ้าเป็นเราโดนเข้าอย่างนี้จะทำอย่างไรกัน” ก็ตอบขึ้นว่า “มึงต้องบ้านแตกสาแหรกขาดแน่”
การที่ได้ประสบพบเหตุการณ์อย่างนี้ กลับดีใจยิ่งกว่าบิณฑบาตได้ข้าวเต็มบาตร”

ในวันนั้นท่านพ่อได้ข้าวแทบไม่พอฉัน เมื่อถึงเวลากลางคืน ท่านก็ได้ตริตรองเรื่องนี้อยู่ตลอด
ทำให้ก็รู้สึกเบื่อหน่ายเรื่องของโลกออกไปโดยลำดับ

เหตุการณ์ต่อมาเกิดขึ้นเมื่อไปบิณฑบาต แล้ววกกลับมาทางด้านหลังวัดปทุมวนารามฯ
บริเวณนั้นเป็นถนนดิน ถ้าฝนตกถนนจะลื่น ท่านเดินอย่างสำรวมมาถึงหน้าบ้านของโยมคนหนึ่ง

“บิณฑบาตได้ข้าวเต็มบาตร ใจก็นึกคิดไปในอารมณ์ของโลก
นึกจนเผลอตัวก้าวลื่นถลาล้มลงไปในบ่อข้างถนน หัวเข่าทั้งสองจมลงไปอยู่ในโคลนประมาณ ๑ คืบ
ข้าวสุกในบาตรหกหมด เนื้อตัวมอมแมมไปด้วยโคลน ต้องรีบเดินทางกลับวัด
เมื่อกลับมาถึงวัดแล้ว เก็บเอามาเป็นคติเตือนใจสอนตนเองว่า การนึกในเรื่องทางโลกของเรา
เพียงแต่นึกคิดมันก็ยังมีโทษติดตามมาได้ถึงเพียงนี้ ใจก็ค่อยคลายค่อยเบื่อออกไปโดยลำดับ
คิดว่า “เรื่องครอบครัวนั้นมันเป็นเรื่องของเด็ก ไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่” กลับความคิดเห็นเป็นอย่างนี้”

เหตุการณ์สุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อท่านบิณฑบาตไปตามถนนเพชรบุรี
ไปถึงวังของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
พระองค์ท่านจะใส่บาตรประจำวันแก่พระสงฆ์ทั่วไป แต่วันนั้นมีขันข้าวอีกขันหนึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามวัง
ท่านพ่อจึงเดินไปรับบิณฑบาตจากขันตั้งใหม่เสียก่อน แล้วจึงหันกลับมาเพื่อจะไปรับขันที่อยู่ตรงข้าม

“พอดีมีรถเมล์ขาวนายเลิศวิ่งมาอย่างรวดเร็ว วิ่งเฉียดศีรษะไปห่างประมาณ ๑ คืบ
คนโดยสารร้องตะโกนโวยวายขึ้น ตัวเองก็ผงะยืนตกตะลึงอยู่เป็นเวลาหลายอึดใจ
วันนั้นเกือบถึงแก่ความตายเพราะถูกรถเมล์ชน ขณะกลับไปรับบาตรที่วังพระองค์เจ้าธานีฯ
ต้องสะกดตัวไว้อย่างเข้มแข็ง มีอาการสั่นสะท้านไปทั่วทั้งตัว”

ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนี้ได้เป็นคติเตือนใจท่านอย่างดี
จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านก็มีดำริว่า

“ในปีพรรษาที่ ๓ ก็นึกว่า เราต้องออกจากพระนครแน่ๆ
ถ้าพระอุปัชฌาย์ยังหวงห้ามกีดกันอีก เห็นจะต้องแตกกันในคราวนี้
มิฉะนั้นก็ขออำนาจคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงช่วยข้าพเจ้าโดยทางอื่น”

ต่อมาในวันหนึ่งเวลากลางคืน ท่านอ่านหนังสืออยู่แล้วเคลิ้มหลับไป
 
“พอเคลิ้มหลับได้เห็นพระอาจารย์มั่นมาดุว่า “ท่านอยู่ทำไมในกรุงเทพฯ ไม่ออกไปอยู่ป่า"
ก็ได้ตอบท่านว่า “พระอุปัชฌาย์ไม่ยอมให้ไป" ท่านตอบคำเดียวว่า “ไป"
จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานถึงท่านว่า “เมื่อออกพรรษาแล้ว ขอให้ท่านมาโปรดเราเอาไปให้จงได้"”

หลังจากนั้นไม่กี่วัน ท่านพ่อก็ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งมาพักอยู่ที่วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
เพื่อเยี่ยมอาการอาพาธของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

“นับแต่อุปสมบทล่วงแล้วได้ ๔ พรรษา เพิ่งจะได้มาพบท่านอีกในคราวนี้ ก็ได้เข้าไปกราบไหว้
ท่านก็เมตตาแสดงธรรมให้ฟังว่า “ขีณาชาติ วุสิตัง พรหมจริยันติ” แปลได้ใจความสั้นๆ ว่า
“พระอริยเจ้าขีณาสพทั้งหลาย ท่านทำตนให้เป็นผู้พ้นจากอาสวะแล้วมีความสุข
นั้นคือพรหมจรรย์อันประเสริฐ” จำได้เพียงเท่านี้
แต่รู้สึกว่าเราไปนั่งฟังคำพูดของท่านเพียงเล็กน้อย ใจนิ่งเป็นสมาธิดีกว่าเรานั่งทำคนเดียวมากมาย
ในที่สุดท่านก็สั่งว่า “คุณต้องไปกับเราในคราวนี้ ส่วนอุปัชฌาย์นั้นเราจะไปเรียนท่านเอง””

ท่านพ่อลีจึงได้ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปธุดงค์ทางภาคเหนือรอดพ้นจากการลาสิกขา ครองสมณเพศตราบวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

-----------------------------------------------------------------------
เอกสารประกอบการเขียน
“ชีวประวัติพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร )” พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปี ๒๕๑๙

"๒๘ พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม
ธรรมบรรณาการในงานบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ) ครบรอบวันมรณภาพปีที่ ๔๘ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒.
บันทึกการเข้า
ป้อม
Newbie
*
กระทู้: 11

เอาชนะตัวเองดีกว่าเอาชนะคนอื่น

surapolch2008@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2010, 08:53:41 pm »

ขอบคุณที่นำสิ่งดีดีมาให้อ่านกันครับ
       ขออนุโมทนาด้วยครับสำหรับข้อธรรม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.15 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!