ครูบาเจ้าเพชรดอทคอม

บอร์ดหลัก => ประสบการณ์จากการปฏิบัติ => ข้อความที่เริ่มโดย: boonchu ที่ พฤศจิกายน 18, 2008, 10:35:07 pm



หัวข้อ: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: boonchu ที่ พฤศจิกายน 18, 2008, 10:35:07 pm
             “อิ
               ติ
               ปิ
               โส”
 ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
       วิชชาจะระณะสัมปันโณ
  สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
      ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา
เทวมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
   วชิรสาสโนวาท
                 แปลว่า
คำสอนที่มีสาระประดุจดังเพชร
คำสอนที่มีสาระประหนึ่งสายฟ้าแลบ
    หัวข้อธรรมที่๑
    การเข้าวิปัสสนากรรมฐาน  พิจารณาขันธ์๕ เมื่อพิจารณาแล้วเอาจิตไปเทียบสังโยชน์๑๐  มองของสวยกับของไม่สวยคู่กัน  ของดีและของไม่ดีคู่กันของเจริญกับของทรุดโทรมคู่กันคือ  มันพังทลายไป  คือ  ไม่ให้ยึดอะไร
 หัวข้อธรรมที่ ๒
ฉันสวดอิติปิโสไม่จบ
“ อิติ  ติเตียนตัวเอง
   อิติ  อย่ามัวติเตียนคนอื่น
   อิติ  ติเตียนตัวเองให้มาก ว่าเรายังเลว ยังไม่ดี
   อิติ  ติเตียนคนอื่นไม่ได้ประโยชน์
   อิติ  ติติงตัวเองได้ประโยชน์กว่า
   อิติ  ติติงตราจตรากิเลสทั้ง๓กอง ของเราหมดหรือยัง  นิวรณ์๕  สังโยชน์ ๑๐  ของเราหมดหรือยังติแบบนี้ก็จะได้ชื่อว่า  สวด  อิติปิโส  ภะคะวา  อรหังสัมมาสัมพุทโธ  เรียกว่าสวดจบ  ที่สวดกันอยู่นะ  เรียกว่าสวดไม่จบ  มันจบแต่ปาก  ไม่จบที่ใจ  ก็เลยไม่จบกิจเสียที”


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ พฤศจิกายน 29, 2008, 02:25:00 pm
หัวข้อธรรมที่ ๓
   ความสงสัย คือ นิวรณ์ ๕ ประการ เรียกว่า  วิจิกิจฉา  เป็นตัวที่ ๕ ในนิวรณ์ ตราบใดยังไม่ถึงพระอรหันต์คำว่านิวรณ์ ๕ อาจจะปรากฏขึ้นได้

หัวข้อที่ ๔
   ถ้าใจไม่ทรงอารมณ์ปฐมฌานต้องสำคัญตนเสมอว่ายังเลวอยู่ ถ้าละความโลภไม่ขาด ตัดความโกรธไม่หมด ทิ้งความหลงไม่ได้ และจิตยังไม่ทำลายสังโยชน์ ๑๐ ต่อให้เป็นผู้ทรงฌานสมาบัติ มีอภิญญา ๕ มโนมยิทธิก็ยังถือว่าเลวอยู่ นอกเสียจากทำจิตของตนให้ถึงซึ้งความเป็นพระอริยะอย่างน้อยพระโสดาบันขึ้นไป จึงจะเรียกว่า พอใช้

หัวข้อธรรมที ๕
    อย่าติดสุข....
    เพราะสุขนั้นมันเป็นโลกธรรม
    คนติดสุขเลยไปนิพพานไม่ได้
หัวข้อธรรมที่ ๖

    อารมณ์ก่อนตายมีความสำคัญมากจับบุญก็ไปสวรรค์ จับบาปก็ไปนรก จับฌานก็ไปเป็นพรหม ถ้าไม่สนใจในร่างกายของตน ไม่สนใจในวัตถุธาตุในโลก ก็ต้องไปนิพพาน

หัวข้อธรรมที่ ๗
   ถ้าเราตัดร่างกายได้คำว่าที่สุดมันก็จบ
อารมณ์ก็จบ การรู้ในพระพุทธศาสนาก็จบหมด
   เขาเรียกว่า...
   จบกิจในพระพุทธศาสนา



หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ พฤศจิกายน 30, 2008, 02:11:50 pm
หัวข้อธรรมที่ ๘
    สตางค์
    ส. เสือ  หมายถึง สติที่ตั้งไว้ตรวจดู
    ต. เต่า หมายถึง ติเตียนตัวเอง ตรวจดูว่ามีกิเลสอยู่ตรงไหน
    สระอา หมายถึง ตะขอไว้เกี่ยวกิเลสถ้ามีเยอะมาก หนักเกินไปเกี่ยวไม่ไหวใช้ ง.งู ตัวใหญ่เลื้อยลงไปฉกมันออกมา แล้วส่งให้ ค.ควาย กำลังดี ขวิดไปนอกจักรวาลเลย ใช้ตัวการันต์ ส่ายไปส่ายมาเหมือนเรด้า คือ สติบวกปัญญา ส่งข่าวบอกพวกได้เร็ว ทุกคนควรจะมีสตางค์ติดตัวไว้ทุกคนนะ

หัวข้อธรรมที่ ๙
    การให้ การบริจาค ในความโลภ ในความโกรธ ในความหลง ละการบริจาคความรักระหว่างเพศตรงข้ามอุปมาว่า เราไม่มีสตางค์ เขาเอาอะไรมาขาย เราก็ซื้อไม่ได้
    เอาราคะ   ความรัก
    เอาโลภะ  ความโลภ
    เอาโทสะ  ความโกรธ
    เอาโมหะ  ความหลง
    มาขายเราก็ขายไม่ได้ เพราะเราไม่มีสตางค์จะซื้อ เราบริจาคไปแล้วเมื้อวานนี้ ให้พูดดังๆ ในใจ ให้คิดอย่างนี้ จิตก็จะถูกเสวยอารมณ์เดียว คือ อารมณ์เป็นสุขสงัด เยือกเย็น จิตก็ชินกับอารมณ์ตัดกิเลส


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ ธันวาคม 05, 2008, 05:32:23 pm
หัวข้อธรรมที่ ๑๐
        ที่องค์สมเด็จพระชินสีห์  พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงตรัสแล้วไม่เคยห่างขันธ์ ๕ แม้แต่นิดเดียว ขันธ์ ๕ ทั้งนั้น มีแต่ขันธ์ ๕ ทั้งนั้นที่ตัด ไม่มีอย่างอื่น เราก็ตัดแต่ขันธ์ ๕ อย่างเดียว

หัวข้อธรรมที่ ๑๑
       คนเราไม่มีใครอยู่ได้นานา อย่างไรก็ต้องไป  ต้องสูญ  แต่คนเราไม่ค่อยยอมรับสิ่งที่มันสูญนั้น  ถ้าเราทำสูญให้เป็นศูนย์  ก็คือยอมรับว่ามันนั้นสูญ เอาใจยอมรับเสียก็จบได้


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ ธันวาคม 05, 2008, 05:43:20 pm
หัวข้อธรรมที่ ๑๒
สักแต่ว่าเห็นเท่านั้น !!
        พระอาทิตย์ขึ้นก็ขึ้นไป ตกก็ตกไปตามปกติ คือ เราเห็นเป็นปกติเมื่อใดก็อุปมาเหมือนทำใจให้เห็นเป็นปกติเช่นนั้น ให้ใช้กำลังใจสักแต่ว่าเห็น ความธรรมดาของโลก

หัวข้อธรรมที่ ๑๓
        ต้องควบคุมกำลังใจให้ทรงตัวไม่ให้เคลื่อนออกจากความปรารถนาเดิมแม้แต่วินาทีเดียว  ก็คือ  ความปรารถนาพระนิพพาน

หัวข้อธรรมที่ ๑๔
        ไม่หวังอะไร เวลานี้ต้องการหมดกิเลส  ไม่ให้มีเชื้อของความเลวเหลืออยู่  จะเป็นอะไรก็ช่างมัน  คิดไว้ในใจว่า  ฉันต้องการเท่านี้
       



หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ ธันวาคม 05, 2008, 05:58:13 pm
หัวข้อธรรมที่ ๑๕
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
       “  ศรัทธา  เป็นของน่ากลัว ทำทุกอย่างได้ทั้งหมด อะไรที่เกิดจากความศรัทธา  สำคัญทั้งหมด  ”

หัวข้อธรรมที่ ๑๖
       ถ้าจะหวังเอาพระนิพพาน ต้องยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์เสมอ และรู้ลมหายใจเข้า  หายใจออก  ปฏิบัติอย่างนี้  ไม่ช้าก็จบกิจในพระพุทธศาสนา

หัวข้อธรรมที่ ๑๗
       แก้วน้ำเมื่อถูกเคาะ ไม่รู้ว่าอะไรมันสะเทือน จริง ๆ แล้ว แก้วมันมันสะเทือน
น้ำจึงไหว เช่นเดียวกับจิตในกาย  ให้ระวังสัมผัส คือ อายตนะ ๑๒   มีตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรู้รส กายสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ต้องระวังให้มาก อย่างหลงมันนะ หลงมันเมื่อไหร่จะเป็นทุกข์ทันที


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ ธันวาคม 05, 2008, 06:07:51 pm
หัวข้อธรรมที่ ๑๘
      อัตภาพร่างกายนี้ ไม่ใช้ของเราจริงๆ เพราะเราบังคับไม่ได้ ฉะนั้นเราจะเป็นเพียงผู้รู้ คือ พุทธะ ว่ามันสักแต่ว่า เวทนา เป็นทุกข์อยู่เท่านั้นอง

หัวข้อธรรมที่ ๑๙
      ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็น อริยสัจ ๔ ทางของพระอริยเจ้าท่านเดินทางนี้กัน

หัวข้อธรรมที่ ๒๐

      อย่าให้มีความห่วงในจิต เพราะบุคคลที่ปรารถนาพระนิพพาน จะมีความห่วง ความกังวลอะไรไม่ได้


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ ธันวาคม 09, 2008, 06:40:23 pm
หัวข้อธรรมที่ ๒๑
       การทีจะพ้นจากความทุกข์คือ เรามีความเข้าใจในทุกข์ ถ้าเราไม่มีความเข้าใจในทุกข์ เราก็ไม่สามารถพ้นจากความทุกข์ได้

หัวข้อธรรมที่ ๒๒
       ไม่มีอะไรกักขังจิตได้  เพราะจิตมันเป็นอิสระ นอกเสียจากกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้

หัวข้อธรรมที่ ๒๓
       ที่โล่งๆ ปลูกอะไรไม่เกิดประโยชน์นั่นก็คือ ปลูกความชั่ว ปลูกอย่างไรก็หาประโยชน์มิได้

หัวข้อธรรมที่ ๒๔
        จงใช้สติ อุดรูรั่วของจิต ภาชะที่มีรูรั่ว แม้เพียงเท่ารูเข็ม ถ้าไม่ซ่อมแซมจะนำมาใส่น้ำ น้ำก็รั่วออก ไม่ช้าน้ำที่อยู่ในภาชนะก็หมดไป
        จิตของเราก็เช่นกัน ต้องหมั่นซ่อมแซม อุดรูรั่วของจิต อย่าให้กลายเป็นจิตที่
ไม่มีคุณภาพ เอาสติเป็นตัวซ่อมแซมจิต จิตที่รั่วก็เพราะว่าเราไม่เอาสติไปควบคุมจิต การมีสติ คือ การรู้อยู่  รั่วก็รู้อยู่ เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษก็รู้อยู่


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ ธันวาคม 09, 2008, 06:43:02 pm
หัวข้อธรรมที่ ๒๕
         คำปฏิปทาในการออกบวชของหลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร
         “ เราบวชมาเพื่อหวังพระนิพพานโดยแท้ ขอดับภพดับชาติ ฉันจะไปพระนิพพานชาตินี้ ใครอยากตามเรา ครูบาเจ้าเพชร ตัดขันธ์ ๕ ให้ได้ เอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นตัวเทียบ ทรงบารมี ๑๐ อิทธิบาท ๔ พรหมวิหาร ๔ จรณะ ๑๕ ”

 หัวข้อธรรมที่ ๒๖

         เกิดมาแต่ละครั้ง แต่ละหน มีแต่กรรมต้องชดใช้ กรรมมีแต่ความทุกข์กัน แต่กรรมใดก็กรรมมัน ชดใช้กันไปก็แล้วกัน เราหรือก็จะพยายามให้พ้นทุกข์ ไม่ทำก็ตามใจ จะทำบาปหรือจะทำบุญ จะตกนรกหรือจะขึ้นสวรรค์ พระนิพพานก็เลือกกันไป

หัวข้อธรรมที่ ๒๗

         จะทำตัวให้เหมือนกระต่าย และจงมีความเพียรพยายามให้เหมือนกับเฒ่า
หัวข้อธรรมที่ ๒๘
          ร่างกายของคนมันไม่เที่ยง สัตว์ก็เหมือนกัน แม้แต่วัตถุก็ไม่เว้น พังสลายหมด ยึดอะไรก็ไม่ได้เลย เพราะสิ่งทั้งหลายเกิดมาเพื่อตาย  และก็พังเห็นจะมีแต่แดนพระนิพพานทีเดียวที่ไม่เสื่อม ไม่ตาย ไม่พัง ดังบาลีที่ว่า นิพพานัง ปรมัง สุขขัง นิพพานเป็นแดนสุขอย่างยิ่ง


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ ธันวาคม 09, 2008, 06:46:26 pm
หัวข้อธรรมที่ ๒๙
          จิตที่มันวุ่น  ความคิดที่มันสับส่ายสติจับอะไรไม่ได้ควรใช้อานาปานุสสติคือ กำหนดลมหายใจเข้าและออกจะระงับความฟุ้งซ่านได้ดีมาก
   
หัวข้อธรรมที่ ๓๐
           การภาวนาว่า ร่างกายนี้หนักหนอร่างกายนี้ทุกข์หนอ ที่ว่าหนักเพราะจิตมันอยู่ใน กาย  ต้องมีการแก่  แก่แล้วก็หนักขันธ์ ๕ มันหนัก ป่วยก็หนัก หนักที่ร่างกาย คนตักไม่เป็นก็หนัง ตัดได้จิตก็เบา กายหนักอย่างเดียวไม่พอ ยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ่วงอีกต่างหาก ก็สรุปได้ว่า ขันธ์ ๕  เป็นทุกข์ ขันธ์ ๕  ไม่เที่ยง ไม่ช้าก็สลายตัวไปเป็นอนัตตา
หัวข้อธรรมที่ ๓๑
            อย่าติดสบาย ไม่มีใครช่วยตัวเราได้  ถ้าเราไม่ช่วยตัวเราเอง  ดังนั้นจงรักตัวเองให้มากที่สุด จงทำตนเหมือนอยู่คนเดียวในโลก  หัดช่วยตัวเอง  อย่าหวังพึ่งผู้อื่น


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ ธันวาคม 10, 2008, 12:55:46 pm
หัวข้อธรรมที่ ๓๒
           บุคคลใดพิจารณาขันธ์  ๕ ว่าเป็นของหนัก เป็นทุกทนได้ยาก  ต้านทานได้ยาก เห็นขันธ์ ๕ เป็นของไม่เที่ยง แปรสภาพเสื่อมลง เอาอะไรไม่แน่นอนกับมันได้ และสุดท้ายก็สลายตัวเป็นอนัตตา ร่างกายหรือขันธ์ ๕ เป็นของไม่ควรยึดมั่นฝักใฝ่อาลัยอาวรณ์ บุคคลนั้นได้ชื่อว่า พระอรหันต์ สิ้นกิเลสหมดเชื้อ ไม่สามารถติดไฟได้อีกแล้ว

หัวข้อธรรมที่ ๓๓

             จงรู้จักหน้าที่ของร่างกายแต่ละอย่าง ร่วมถึงโทษและโรคที่จะเป็นด้วย รู้สึกไม่ชอบร่างกายของเขาเลย ของเราก็เหมือนกัน ไม่ใช่ของดีอะไรเลย อย่าหลงกันนักเลย ร่างกายอันน่าเกลียด โสโครก

หัวข้อธรรมที่ ๓๔
              เวลาเหลือน้อยเต็มทีแล้วนะ เธอจงอย่าประมาท การปรารถนาสิ่งใดในกาลก่อน ขอให้เธอพอกพูนในความปรารถนาอันนั้น


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ ธันวาคม 10, 2008, 12:58:45 pm
หัวข้อธรรมที่ ๓๕
                  คำตรัสของพระ
              “ สูเจ้าจงมองดูโลกอันตระการตานี้เถิด อันคนโง่เขลาหมกอยู่ บัณฑิตทั้งหลายหาข้องไม่ ”

หัวข้อธรรมที่ ๓๖
              การเกิดมันเป็นทุกข์ เห็นแล้วและยอมรับความจริงแล้ว
                          นิพพาน  นิพพาน

หัวข้อธรรมที่ ๓๗
              เกิด - ดับ    ดับ  -  เกิด
           ไม่รู้จักจบจักสิ้น พอกันทีการเกิดการดับ ฉันไม่เอาด้วยคน ขอไปพระนิพพานดีกว่า

หัวข้อธรรมที่ ๓๘
           คนที่ปฏิบัติพระกรรมฐานในสายมโนมยิทธิ ถ้าเอาจริง ก็มีผลจริง เห็นจริง ถ้าทำกันไม่จริง ก็มีผลไม่จริง อุปทานกิน
 
หัวข้อธรรมที่ ๓๙
            จิตที่น้อมถึงพระพุทธเจ้า ก็เรียกได้ว่าตั้งนโมแล้ว เพราะ นโม คือ ความนอบน้อม
หัวข้อธรรมที่ ๔๐
           ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ปราศจากนิวรณ์ และใช้หลักความจริงเปรียบเทียบให้เห็น ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์และไม่ต้องการมันอีก


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ มกราคม 02, 2009, 06:11:40 pm

หัวข้อธรรมที่ ๔๑
             ธรรมะมีความสำคัญ เพราะเป็นพระสูตรขององค์สมเด็จพระชินสีห์และเป็นความรู้ของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย นำสืบทอดสั่งสอนบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย เพื่อให้ปฏิบัติตามเพื่อมรรค เพื่อผล เพื่อพระนิพพาน
หัวข้อธรรมที่ ๔๒
             งานสอนคืองานสอน งานปฏิบัติคืองานปฏิบัติ ไม่ทิ้งแม้แต่อย่าเดียว ร่างกายจะอยู่หรือไม่อยู่ก็ช่างหัว ใจสู้เสียอย่างเราคิดเสมอว่าร่างดายนี้ไม่ใช่เรา ไมใช่ของเรา เราไม่พึงพอใจในร่างกายนี้ต่อไป ไม่พึงพอใจในร่างกายของบุคคลอื่นอีกต่อไป ไม่สนใจใดๆในวัตถุของโลก ไม่ถือว่ามันเป็นของสำคัญ ก็คือไม่ยึดติดในโลกเท่านั้นเอง ความทุกข์ในใจ ท่านก็จะไม่มี ทุกข์เข้าได้แค่กาย เข้าใจไม่ได้

หัวข้อธรรมที่  ๔๓
           บางครั้งอยู่เงียบๆ เฉยๆ ให้ระวังความคิดของตัวเองให้มากๆ มันอาจจะแล่นไปในความโลภ ในความโกรธ ในความหลง ในราคะ ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ต้องมีผู้รู้นะ คือ พุทธะ                      
                              พุทโธ  พุทโธ  พุทโธ


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ มกราคม 02, 2009, 06:15:03 pm

 หัวข้อธรรมที่  ๔๔
            ความตายอยู่แค่ปลายจมูก ลมหายใจเข้าไม่ออกก็ตาย ลมหารใจออกไม่เข้าก็ตาย การที่ทรงอยู่ได้ทุกวันนี้ เพราะอาศัยลมหายใจ ยังให้อัตภาพอยู่ได้ ให้พิจารณาโดยใช้วิปัสสนากรรมฐาน เอาให้มันขาดให้ได้ ตัดให้มันขาดไปให้ได้ คำว่า ขาดก็คือ ให้มันหลุนออกไป หลุดออกไปว่ามันไม่ใช่เราจริงๆ สมบัติพัสฐานในโลกก็ไม่ใช่จริงๆไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา เป็นของโลก เมื่อเราตายไปสมบัติก็เป็นของโลก ต้องคืนให้ธรรมชาติ คือ ความเป็นจริง เรียกว่า ธรรมะใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

หัวข้อธรรมที่  ๔๕
            ตัดที่ใจเอาใจตัด ตัดให้ขาดออกจากใจเสีย ว่าร่างกายของเราเป็นคนละคนกัน   ความเที่ยงแท้ไม่ได้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีใครบอกได้ว่าจะตายเมื่อไหร่ ความตายเป็นความจริง

หัวข้อธรรมที่  ๔๖
            บัณฑิตและปราชญ์ ควรรู้ที่ตายและที่เกิดของตน จึงได้ชื่อว่า  พ้นทุกข์แท้

หัวข้อธรรมที่  ๔๗
            ตัวธรรมมันมีเท่านี้ กิเลสที่มันไม่ดับเพราะตัวรู้มันไม่เกิด มันจึงไม่ทันความคิดปรุงแต่ง นิพพานมีสภาพ “ว่าง”ไม่มีกิเลสจากความคิดปรุงแต่งให้เป็นโน่น เป็นนี่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต อย่าไปปรุงแต่ง คือยึดมั่นมันเข้า ทุกข์จะเกิดมีได้จากตรงไหน ก็จะดับตรงนี้ไม่ใช่หรือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง เพราะมันสักแต่ว่า.... ทุกข์และสุข


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ มกราคม 02, 2009, 06:17:26 pm
หัวข้อธรรมที่  ๔๘
                         อุจจาระกับขันธ์ ๕
                         ( พระท่านมาสอนในนิมิต )
                องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่าให้ตัดขันธ์ ๕ ให้รังเกียจขันธ์ ๕ ก็มีอุบายในการปฏิบัติ เพื่อจะละขันธ์ ๕ ที่พระท่านแนะนำมาให้รังเกียจร่างกายเหมือนเรารังเกียจอุจจาระที่ถ่ายออกมามีกลิ่นเหม็นเป็นของที่ทุกคนไม่พึงปรารถนา รังเกียจอุจจาระฉันใด ก็ให้รังเกียจร่างกายฉันนั้น เอาร่างกายไปเปรียบเทียบกับอุจจาระ เราไม่พึงพอใจไม่ยึดมั่น ไม่ติดใจ  ไม่อาลัยอาวรณ์ ในอุจจาระฉันใด ก็รังเกียจขันธ์ ๕  ร่างกายฉันนั้น ใครทำได้ ปฏิบัติได้ก็พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน เพราะรู้ว่ามันไม่มีค่า จึงไม่ยึดติดมันฉันใด ก็อย่ายึดติดร่างกายหรือขันธ์ ๕ ฉันนั้น
ตุลิตะ ตุลิตัง สีคะ สีคัง นิพพาน นะสุขขัง เร็วๆ ไวๆ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

หัวข้อธรรมที่ ๔๙
                คนที่เขาจะไปนิพพานนะต้องเจอตัวเองก่อน เห็นตัวเองก่อน ถ้าไม่เห็นตัวเองก็ไปนิพพานไม่ได้ คือ ต้องเจอตัวเอง หลงในความคิดว่าเราจะไม่ตาย ของรักจะไม่ไปจากเรา ถ้าเจอตัวเอง คือ ตัวโง่หลงงมงายก็เห็นตัวเอง คิดให้เป็น ทำให้เป็น จะเห็นจริงตามนี้

หัวข้อธรรมที่ ๕๐
                 ดูใจของเราอย่างเดียว ไม่ต้องไปดูใจของคนอื่น ดูกิเลสของเราคนเดียว ไม่ต้องไปดูกิเลสของคนอื่น พิจารณาให้มันเด็ดขาด เอากันจริงๆ ก็ถึงพระนิพพานได้

หัวข้อธรรมที่  ๕๑
                งานที่ทำ   คือ กรรมฐานที่ปฏิบัติ
                งานเจริญ คือ กรรมฐานเจริญ
                ทำให้เป็นก็จะเห็นจริง


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: มือใหม่หัด พุทโธ ที่ มกราคม 05, 2009, 11:00:35 am

สาธุ สาธุ สาธุ


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ มีนาคม 03, 2009, 05:37:16 pm
หัวข้อธรรมที่  ๕๒              
          กินเพื่ออยู่  หรือ  อยู่เพื่อกิน
              กินเพื่อตาย  หรือ ตายเพื่อกิน
              ตายเพื่ออยู่  หรือ  อยู่เพื่อตาย

การกินเพื่ออยู่ คือไม่ติดในรส การอยู่เพื่อกิน คือ ผู้ติดในรส กินเพื่อตาย คือ ผู้มีสติรู้ว่ากินก็ตาย ไม่กินก็ตาย ไม่ประมาทในชีวิต เร่งทำบุญก่อนตาย ตายเพื่อกิน คือ ผู้ประมาทในชีวิตไม่คิดว่าจะต้องตาย เมาในชีวิตไม่เร่งทำบุญ ไม่ชอบสร้างกุศล ชอบสร้างแต่อกุศล ความชั่ว ตายเพื่ออยู่ คือ คนสร้างแต่คุณงามความดีปฏิบัติตนให้พ้นจากภัยหรือทุกข์ได้ ตายแล้วไปอยู่แดนไม่ต้องเกิด ไม่ต้องเจ็บ และไม่ต้องตาย (พระนิพพาน) อยู่เพื่อตาย คือ คนที่ประมาทในชีวิตมากๆเป็นคนเห็นแก่ตัวมาก ความดีชอบอวด ความชั่วเก็บไว้ และทำความชั่วทุกประการนับไม่ถ้วน เป็นผู้ละความสุขจากนิพพาน ไม่เหมือนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านตายเพื่ออยู่ คือ ตัวตายแต่ชื่อไม่ตาย ความดีไม่ตาย คำสอนไม่ตาย เป็นธรรมท่านทั้งหลายก็เลือกกันเอาเองก็แล้วกันว่าจะเป็นเช่นไร


หัวข้อธรรมที่  ๕๓                
           พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่ามันมีการเกิด มันมีการแก่ มันมีการเจ็บ มันมีการตาย เพราะมันเป็นอนิจจังคือ มันไม่เที่ยง เพราะมันเป็นทุกข์ขังคือ มันเป็นทุกข์เพราะมันเป็นอนัตตา คือ มันเป็นของไม่มีตัวตน มันไม่มีขันธ์ ๕ ไม่มีอะไร มีแต่พระนิพพานอยู่ในใจ นิพพาน นิพพาน สุขจริงหนอ พระนิพพาน


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ มีนาคม 15, 2009, 11:30:16 am
หัวข้อธรรมที่  ๕๔
               ธรรมะเกิดจากจุดเล็กๆ
               ธรรมะเกิดจากจุดเล็กๆ  ช่องว่างเล็กๆนี่สำคัญ พระอรหันต์ท่านเห็นคนมองข้ามความสำคัญสิ่งเหล่านี้ไปท่านจึงนำมาสอน
                จุดเล็กๆมีอำนาจสามารถหยุดประโยคได้ ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า การกระทำ จุดไว้จบประโยคนี้สามารถหยุดการกระทำนี้จึงมีค่ามีความสำคัญ ช่องว่าก็เช่นกันทำหน้าที่หยุดคำ หยุดตัวหนังสือได้อ่านแล้วไม่เครียดนี่มัน “ศักดิ์สิทธิ์” นะ

หัวข้อธรรีที่  ๕๕
               ทางที่ดับ-ดับที่ทาง
    คนที่กำลังหาตัวเอง ไปหาที่อื่น ที่ไหนๆ มันก็ไม่เจอ เปรียบเหมือนไฟที่ไหม้อยู่บนหัว วิ่งไปดับที่อื่น ไฟบนหัวก็ไม่ดับ เราต้องรู้ว่าอะไรมันไหม้ อะไรที่ไหม้อยู่ คือความทุกข์อยู่ที่ไหน ต้องไปดับที่นั้น มีเหตุก็ต้องมีปัจจัย ดับที่ใจ ใจของเจ้าของนั่นแหละ ต้องดับก่อนจึงจะได้ชื่อว่า “ทางทีดับ-ดับที่ทาง



หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 08, 2009, 11:42:21 am
หัวข้อธรรมที่  ๕๖
            โรงละครโรงใหญ่
       สถานที่เพาะเชื้อความดี และความชั่วก็คือ โรงละครโรงใหญ่ ถูกกำกับด้วยกฎหมายของกรรม ผู้คนในโรงละครแสดงหน้าที่ตามวิบากของกรรมก็คือการกระทำ  ซึ่งต่างก็หนีกรรมนั้นอยู่ สร้างความดีในปัจจุบันก็สามารถหนีกรรมชั่วได้ ฉะนั้นจงทำใจให้มีความสุข ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน จึงจะได้ชื่อว่า มีความสุขในโลกโดยแท้

หัวข้อธรรมที่  ๕๗
             หลักธรรมคำสอนของท่านครูบาเจ้าเพชร
      - ทำวันนี้ให้ดีที่สุด แล้ววันพรุ่งนี้จะดีว่าวันนี้
      - จงอยู่ให้คุ้มกับการที่ได้เจอพระพุทธศาสนา
      - พระไม่ปฏิบัติก็เป็นหน่อเน่าเนื้อในพระพุทธศาสนา
      - ธรรมะจริงๆ ได้เฉพาะตน
      - ค่อย ๆ เห็นทุกข์ให้เห็นบ่อย ๆ แต่ให้ค่อย ๆ เห็น

หัวข้อธรรมที่  ๕๘
                  ปัญญาของพระอริยะ
        ปัญญาของพระอริยะ รู้อะไรแทงทะรุตลอดเร็วไว เหมือนพลิกกระดานที่มีตะปูตอกอยู่ พลิกแล้วตะปูก็หลุดโดยไว มองไม่เห็น ยิ่งกว่าสายฟ้าแลบ ไม่มีตะปู เห็นแต่รูของตะปู ตะปู คือ กิเลสที่กดกระดานอยู่ หลุดออกแล้วรูที่กระดานก็คือ ปัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้ง เห็นแจ้ง รู้ได้เฉพาะตน
         กบไสไม้ เราเอาไว้ไสไม้ ไสกระดานที่ไม่เรียบ มีขุย มีรอย ไสมันให้เรียบ สวยงาม สะอาดได้ กบไสไม้นี้ก็เปรียบเป็นปัญญาที่ไว้กำจัดกิเลสให้หลุด ให้หมดไปนั้นเอง

หัวข้อธรรมที่   ๕๙
                      ความแข็งแกร่งของจิต
            ความแข็งแกร่งของจิตนั้น ต้องค่อยๆ เริ่ม ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เห็น เหมือนเด็กผู้หญิงกว่าจะโต ก็เริ่มค่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ตอนเด็กเรียกนมเด็ก พอโตขึ้นมาหน่อยก็เรียกหน้าอกสาว นี่ก็เป็นความค่อยเปลี่ยน ค่อยๆ เป็น ก็ไม่ต่างอะไรกับจิตของเราก็ต้องใช้วิธีแบบนี้


หัวข้อธรรมที่ ๖๐

               ร่างกายเหมือนบ้านจิตของเราคือผู้อาศัย เมื่อถึงเวลาเจ้าของบ้านตัวจริงมาเอาคืน คือ ความไม่เที่ยง คือ ความพังสลาย มาไล่เรา เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่า ต้องไปหาบ้านหลังใหม่อยู่หนีไม่พ้นนะทุกคนนะ เพราะร่างดายมันต้องตาย ทางที่ดีเราตัดสินใจไปพระนิพพานดีกว่าจะได้ไม่มีใครมาไล่



หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 08, 2009, 11:49:56 am
หัวข้อธรรมที่  ๖๑ 
                   ศีล                                          
                   สมาธิ
                   ปัญญา
เป็นปัจจัยซึ่งให้ถึงพระนิพพานได้ไมยาก

หัวข้อธรรมที่  ๖๒
             ผู้หวังผลในพระนิพพาน อย่าปฏิบัติหลายหลาก ควรปฏิบัติเป็นจุดให้ตรงกับจริตของตนเอง ควรจะศึกษาในจริต ๖ ประการ แล้วปฏิบัติเอากรรมฐานให้ตรงกับอุปนิสัยของตน ก็จะมรรคผลนิพพานโดยง่าย พระพุทธเจ้าสอนกรรมฐานหรือพระองค์เทศน์กัณฑ์เดียวหรือกอง เดียวก็ทำ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม อริยเจ้า โดยไม่ยาก
ฉะนั้นจึงศึกษาครูเดียว ธรรมอันเดียวที่เรามั่นใจและที่เราปฏิบัติเห็นผลจริงเป็นปัจจัตตังในตัวของเราเอง

หัวข้อธรรมที่  ๖๓
         ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
               ตัวตนเรา เขา
       เป็นของน่ารังเกียจทั้งสิ้น

หัวข้อธรรมที่  ๖๔
            สิ่งที่น่ากลัวที่สุด
         คือ ความคิดของเราเอง
       เธอทั้งหลายก็ควรระวังความคิดของตัวเองให้มากในขณะอยู่คนเดียวเพราะบางครั้ง ความโลภ ความโกรธ ความหลง กามราคะ อาจเกิดขึ้นได้ก็ควรระวังด้วย จริงอยู่ในขณะปฏิบัติอาจไม่พบกิเลส พวกนี้ก็เพราะว่า ฌาน สมาธิ มันกดเออาไว้จึงไม่ปรากฏในขณะนั้น อาจคิดว่า เราบรรลุแล้วก็ได้ จงอย่าคิดอย่างนั้นนะมันจะผิดเพราะที่ไม่พบกิเลส เพราะ ฌาน สมาธิ มันกดไว้ต่างหากล่ะ


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 08, 2009, 11:53:04 am
หัวข้อธรรมที่  ๖๕
              หลวงพ่อครูบาสอนลูก
       ธรรมอันใดที่เป็นที่ถูกใจในหระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์ และเป็นทางดำเนินไปพระนิพพานของลูกทุกๆ คน จงทำ ธรรมอันนั้นให้จงมาก

หัวข้อธรรมที่  ๖๖
มาความสกปรกของตัวเองดูโครงกระดูก ดูเนื้อ ดูหนัง คนเรานี้ที่ดูมันอวบอั๋น เพราะว่ามันมีเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง มันเป็นธาตุน้ำ คนเราหลงกันตรงนี้ หลงธาตุน้ำ หลงน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ไม่ได้หลง อะไร พอเป็นคนแก่น้ำเลือดน้อยลง น้ำเหลืองน้อยลง น้ำหนองน้อยลง มีธาตุดินมาก มันก็เหี่ยว หมดความสวย

หัวข้อธรรมที่  ๖๗         
     พูดถึงเรื่องกระดูกแต่มันก็มีธาตุ ๔ เข้ามารวมด้วย เพราะมันอยู่ในร่างกายโครงกระดูก มันก็ไม่สะอาดด้วย ประการทั้งปวง ธาตุ ๔ มันก็ไม่สะอาดด้วย สรุปว่า ขันธ์ ๕ คือ ร่างกายไม่สะอาด นั่งมองเห็นโครงกระดูกแต่ก็เห็นธาตุ ๔ ด้วย เห็นอสุภะ คือ ของไม่สะอาด เห็นกายคานุสสติ คือ เห็นอาการ ๓๒ ไม่สะอาด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นของไม่มีมนเรา เราไม่มีในมัน พอกันทีสำหรับร่างกายบ้าๆ อย่างนี้ ฉันไม่ต้องการมันอีก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

หัวข้อธรรมที่  ๖๘
            บูชาในสิ่งที่ควรบูชา
    ปูชา  จะ  ปูชะนียานัง  เอตัมมัง  คะละมุตตมัง  คือควรบูชาในสิ่งที่ควรบูชา มีการบูชาในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมเจ้า ในพระอริยสงฆ์ ในครูบาอาจารย์ ในบิดามารดา ใครบูชาในสิ่งที่กล่าวมา จะอยู่ที่ไหนก็จะเจริญ ในที่ทุกสถานมีคนสรรเสริญและเจริญในยศลาภ เป็นที่รักของพรหมเทวดา เราทุกคนจึงควรบูชาในสิ่งที่ควรบูชาเถิด ประเสริฐนักแล
หัวข้อธรรมที่  ๖๙
            คนรู้ธรรมะ  ศึกษาธรรมะ มีมาก คนปฏิบัติธรรมะมีน้อย ทั้งสองคนนี้มักไม่ลงกัน คนหนึ่งได้แต่จำธรรมะ  อีกคนหนึ่ง เห็นธรรมะ รู้แจ้งธรรมของพระพุทธเจ้า แต่ถ้าทั้งจะธรรมะและก็ลงมือปฏิบัติธรรมะไปพร้อมๆ กันจะมีประโยชน์มาก ให้เข้าใจอย่างนี้นะ

หัวข้อธรรมที่  ๗๐
           ขันธ์ ๕ เป็นของหนัก เป็นทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของทนได้ยากมนุษย์ทั้งหลาย ถ้ามีความเข้าใจเห็นทุกข์แล้วยอมรับตามกฎของธรรมชาติว่า ความตายเป็นสมบัติของทุกคนไม่มีใครจะหนีพ้นได้ การร้องไห้ ไม่ใช่การแก้ไขที่ถูกวิธี   ควรจะคิดว่าเราต้องตายเหมือนกัน


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 09, 2009, 01:23:56 pm
หัวข้อธรรมที่  ๗๑
              หลักสำคัญของผู้ปฏิบัติ
            หลักสำคัญของผู้ปฏิบัติ นั่นก็คือเครื่องวัดจิต    หมายเอา  สังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัด ก็จะรู้ได้เองว่าที่ปฏิบัติอยู่เป็นของแท้หรือของเทียม ไม่ใช่แต่มัวท่องเที่ยว เขามีไว้ตัดกิเลสกัน เป็นกำลังทางด้านวิปัสสนากัน ทำให้เกิดนิพพิทาญาณได้เร็ว แล้วเอาจิตเข้าไปจับสังขารุเปกขาญาณ คือ การวางเฉยแก่อารมณ์ทั้งปวง ปฏิบัติเอาเองก็จะรู้จริง เห็นจริง

หัวข้อธรรมที่  ๗๒
            คนเกิดเท่าไหร่ ตายเท่านั้น  สัตว์เกิดเท่าไหร่ ตายเท่านั้น ตายแล้วไม่เห็นมีใคร เอาอะไรไปได้สักอย่างหนึ่งหยิบฉวยอะไรไปไม่ได้ แม้แต่สังขารตัวเองก็เอาไปไม่ได้ เอาไปได้แต่บุญแต่บาป ก็เห็นมีเท่านี้เอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว  ทำดี  คิดดี  พูดดี  ถึงพระนิพพานได้

หัวข้อธรรมที่  ๗๓
                         มีแต่ปลาทู  ๒  ตัว
                            ไม่มีอย่างอื่น
                      มีแต่ปลาทูแค่  ๒  ตัว
                              โลกทั้งโลก
                            ไม่มีอะไรเลย
                    จะโลภ จะโกรธ จะหลง
                  ก็เพราะปลาทู  ๒  ตัวนี้เอง

หัวข้อธรรมที่  ๗๔
             ร่างกายนี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ เป็นรังของโรค ความหิวเป็นโรคอย่างหนึ่ง เราทุกคนก็ต้องกินยาทุกวัน ยาประทังกาย คือ อาหารที่เรารับประทาน น้ำที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย สิ่งต่างๆ ทั้งหมดนั้นก็เป็นยาทั้งสิ้น คือมันทรงร่างกายให้ทรงอยู่ได้ ให้
ขันธ์ ๕  มีสภาวะทรงอยู่ได้
             
หัวข้อธรรมที่  ๗๕
            ถ้าเจอตัวเอง คือ ตัวโง่หลงงมงายก็เห็นตัวเอง คือ ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เห็นอะไร เห็นอาการ ๓๒ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น ตาสว่าง  ถ้ามองไม่เห็นของพวกนี้แล้วนิพพิทาญาณ มันไม่เกิด คือ ความเบื่อหน่าย ความยึดมั่น เราต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง แยบยล สุขุม


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 09, 2009, 01:29:00 pm
หัวข้อธรรมที่  ๗๖
                    ในสำนักของเรา
           ต้องยึดพระกัมมัฏฐาน  ดังนี้
ข้อที่ ๑   ตัดความกังวล คือ ตัดนิวรณ์ ๕ ประการ
ข้อที่ ๒  อานาปานุสสติ่
ข้อที ๓  พรหมวิหาร  ๔
ข้อที่ ๔  มรณานุสสติ
ข้อที่ ๕  กายคตานุสสติ
ข้อที่ ๖  อสุภะ  ๑๐
ข้อที่ ๗  บารมี  ๑๐
ข้อที่ ๘  ธาตุ  ๔
ข้อที่ ๙   อุปสมานุสสติ ( นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ )
ข้อที่ ๑๐  เอาจิตไปเทียบสังโยชน์ ๑๐  ว่าเราตัดได้ ๓ ข้อ หรือ ๕ ข้อ หรือ ๑๐ ข้อ หรือไม่ได้เลย อันมีความจำเป็นจะต้องเทียบบ่อยๆ ถ้าเทียบได้เท่าไหร่ ก็ต้องทรงเอาไว้ให้ได้ตลอด

หัวข้อธรรมที่  ๗๗
            ยึดติด  แต่ไม่ติดในสิ่งที่ยึด
            ขณะนี้เรายึดติดในคุณธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า ยึดตามคำสอนของพระองค์ท่าน เพราะท่านดี มีเมตตา สอนให้เราพ้นทุกข์เพราะเรายังเด็ก เดินยังไม่แข็งแรงต้องหาที่เกาะก่อนจะได้ไม่ล้ม คือเกาะพระพุทธเจ้ายึดพระพุทธองค์ในขณะเดียวกันก็ปล่อยความยึดมั่นไปในตัวด้วย ลึกซึ้งนัก เข้าใจยากต้องเห็นเอง รู้เอง จึงจะเข้าใจละเอียด เปรียบได้เช่นเดียวกับเรามีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง รักษาไว้อย่างดี ถ้าใครมาทำลาย เราก็ว่าเขา เหมือนเรายึดติดในหนังสือ แต่เราไม่ได้ติดในสิ่งที่ยึด เพราะเรารู้ว่าไม่มีสิ่งไหนเป็นของเรา การว่ากล่าวนั้น ว่าให้เขารู้จักระวังจะได้ไม่ทำหนังสือคนอื่นเขาเดือดร้อนอีก

หัวข้อธรรมที่  ๗๘
           ประโยชน์ของการป่วย
          การป่วย เราควรจะหาประโยชน์จากการป่วย  อย่าโทษว่าความป่วยไม่ดี ต้องโทษตัวเรา เพราะเราทำกรรมทำเวรมาก่อน ต้องยอมรับตามของธรรมดา ทุกคนหนีไม่พ้นกฎของกรรม เอาปัญญาเข้ามาคิดสิ คิดให้เห็น แทงให้ตลอด ว่าเราอยากป่วยอย่างนี้อีกไหม ถ้าไม่อยากป่วย ไม่อยากเกิด เอาใจของพระพุทธ เอาใจของพระธรรม เอาใจของพระอริยสงฆ์ มาไว้ในดวงจิตเรา มันจะมีกำลัง บารมีมากอย่างบอกไม่ถูก ตัดทีเดียว สังโยชน์ ๑๐ ก็ขาดกระเด็นได้เหมือนกัน แต่มันขาดไปเลยหรือขาดชั่วคราว อันนี้อีกเรื่องหนึ่งนะ คิดเอาเอง ทำให้เป็น  ทำจริงๆ  นะ ผลจะได้จริงๆ  เพราะคนบรรลุเป็นพระอรหันต์ตอนป่วยใกล้จะตายมีเยอะนะ

หัวข้อธรรมที่  ๗๙
          ต้นข้าว เกิดขึ้นอยู่บนดิน ดินคือ กองคูถ กองมูตร ต้นข้าวก็ดูดแร่ธาตุจากดิน ดินก็เป็นปฏิกูล แล้วข้าวจะเป็นอะไร ก็ต้องเป็นผลผลิตจากปฏิกูลนั่นเอง รวมไปถึงพืชผักต่างๆ  ด้วย และสัตว์ที่เกิดอยู่บนดินนี้ ก็คลุกคลีอยู่กับดิน รวมไปถึง  กินพืชพันธุ์ ธัญญาหารจากดิน  และสัตว์บางชนิดก็กินดินเป็นอาหาร  สัตว์นั้นก็เกิดจากปฏิกูล แค่ดินตืดมือเรายังรังเกียจนี่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสว่าเหมือนหลุมขี้ หลุมเหยี่ยว และลองมาคิดดู เอาพืชผักและสัตว์มาประสมปรุงเป็นอาหาร มันก็รวมความสกปรกที่รวมกันนั้นก็นำมาใส่ในกระเพาะคนและสัตว์  รวมความว่า คนและสัตว์คือส้วมที่เดินได้นั่นเอง

หัวข้อธรรมที่  ๘๐
       กิเลสนี่ตัวร้าย  แต่ถ้ามีขันติวิริยะ  ก็คงหมดได้  ทุกวันก็มีหน้าที่สำคัญอยู่ ก็คือ ดูลมหายใจเข้า – ออก ดูความคิดปรุงแต่งที่จิต แล้วก็ปล่อยวางเวลานอนก็นอนตายน้อย  คือฝึกตายเสียก่อน ตายจริงๆ ก็ทำได้


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 10, 2009, 12:45:11 pm
                                 
ธรรมะจากพระโอษฐ์


เยธัมมาเหตุปัปภวา
เตสัง  เหตุง  ตถาคโตอาหะ
เตสัญจโยนิโรโรจ
เอวัง  วาที  มหาสมโณ
ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด
พระตถาคตได้ตรัสถึงเหตุของธรรมเหล่านั้น
เมื่อสิ้นเหตุของธรรมเหล่านั้นจึงดับทุกข์ได้
พระมหาสมณะมีวาทะตรัสสอนเช่นนี้

สัพพปาปัสสะ  อกรณัง
กุสลัสสูปสัมปทา
สจิตตปริโยทปนัง
เอตัง  พุทธานะ  สาสนัง


โอวาทของพระพุทธเจ้า  ๓  อย่าง
         
๑.เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วด้วย กาย วาจา ใจ
     ๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ
                           ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลงเป็นต้น


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 10, 2009, 12:51:43 pm
ศีล ๕
ศีลของพระโสดาบัน
และพระกิทาคามี

ศีล ๕  มีดังนี้
๑.  ปาณาติปาตา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการฆ่าสัตว์และรังแกสัตว์”

๒.  อทินนาทานา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้อนุญาต”

๓.  กาเมสุมิฉาจารา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการประพฤติผิดในกาม พอใจในสามีภรรยาของตน”
 
๔.  มุสาวาทา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการพูดคำเท็จ คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และให้รวมไปถึงพูดสอดเสียด พูดคำหยาบ พูดคำเพ้อเจ้อ เพราะพระโสดาบันท่านละเว้นแบบนี้รวมไปถึงพระสกิทาคามี


๕.  สุราเมระยะ  มัชชะปะมา  ทัฏฐานา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง 
      สมาธิยามิ

“เว้นจากการดื่มสุรา  และของหมักดอง เช่น เหล้าโรง กระแช สาโท และ  อื่นๆ  ที่ทำให้ขาดสติ

               ทั้ง ๕ ข้อนี้ ทำเองก็ดี ยุยงส่งเสริมก็ดี  พอใจในบุคคลอื่นที่ทำก็ดี  ใช้ให้คนอื่นทำก็ดี ถือว่ามีเจตนาละเมิดศีลทั้ง ๕ ข้อ              
              ถ้าหวังในพระสกิทาคามี ก็ให้ละความโลภ  ละความโกรธ 
ละความหลง ให้เบาบางลง  หรือเรียกได้ว่า  ยับยั้งมันได้


พระโสดาบัน  ละ  สังโยชน์  ๓
๑.สักกายทิฐิ  ใช้กำลังเบาๆ คิดว่าเราต้องตาย  คิดว่าความตายเป็ฯสมบัติของทุกคน
๒. วิจิกิจฉา   อารมณ์สงสัยในการปฏิบัติของตน และสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า
๓. สีลัพพตปรามาส  รักษาศีลเท่าชีวิต และปรารถนาพระนิพพานเป็นอารมณ์

                 ถ้าอยากรู้เรื่องของพระโสดาบันให้ไปดูตัวอย่างเรื่องของนางเปรสักการรี  อนันทบิณฑกะเศรษฐี  นางวิสาขา  สุปะพุทธกุฐิ เป็นต้น
ซี่งอยู่ในเทปหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ )
 แห่งวัดท่าซุง


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 11, 2009, 03:10:27 pm
ศีล  ๘
ศีลของพระอนาคามี

ศีล ๘ มีดังนี้

๑.ปาณาติปาตา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและใช้ผู้อื่นฆ่า”

๒. อทินนาทานา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการลักขโมยของผู้อื่นด้วยตนเองและใช้ให้ผู้อื่นลัก”

๓. อะพรัหมะจริยา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาทา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดคำเพ้อเจ้อ

๕. สุราเมระยะ  มัชชะปะมา  ทัฏฐานา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง 
      สมาธิยามิ
   
  “ เว้นจากการดื่มสุรา  ของมึนเมาทุกชนิด”

๖. วิกาละโภชะนา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งอรุนของวันใหม่”

๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะ  ทัสสะนา  มาลาคันธะวิเล  ปะนะธาระณะ  มัณฑะนะวิภูสะนัฎฐานา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการฟ้อนรำ  ขับร้อง  ประโคม ดนตรี  และการดูการเล่น การสวมใส่ ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ และดอกไม้ของหอม  เครื่องฉาบทาลูบไล้ทุกชนิด”

๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการนั่งนอนบนเตียงสูงใหญ่  ภายในยัดด้วยนุ่น  และสำลีอันวิจิตไปด้วยลวดลายงามด้วยเงินทอง

            พระอนาคนมี  ๔  ละกามราคะ คือ ความพอใจในของสวย  และเพศตรงข้าม สัมผัสจากอาตานะ  ๖  คือ ตาเห็นรูป เป็นต้น ๕  ละปฏิฆะอารมณ์ขัดเคือง  จัดว่าพระอนาคามีละสังโยชน์   ๕


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 13, 2009, 12:13:39 pm
ศีล  ๑๐
ศีลของพระอรหันต์
(ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สำหรับฆารวาส  ถ้าพระภิกษุต้องมีศีล ๒๒๗ ข้อ)


กรรมบถศีล  ๑๐  มีดังนี้
จัดเป็นกายกรรม คือทำด้วยกาย ๓ อย่าง
 
๑. ปาณาติปาตา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการฆ่าสัตว์และรังแกสัตว์”

๒. อทินนาทานา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ“เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้อนุญาต”

๓. กาเมสุมิฉาจารา  เวระมะณี  สิกขา  ปะทัง  สมาธิยามิ
“เว้นจากการประพฤติผิดในกาม พอใจในสามีภรรยาของตน”

จัดเป็นวจีกรรม
คือทำด้วยกาย  ๔  อย่าง

๔. มุสาวาทา  เวระมะณี
“ ไม่พูดเท็จ ”
๕. ปิสุนาวาจา  เวระมะณี
“ พูดไม่ส่อเสียด ”
๖. ผรุสวา  เวระมะณี
“ ไม่พูดคำหยาบ ”
๗. สัมผัปปลาปะ  เวระมะณี
"ไม่พูดเพ้อเจ้อ ”

จัดเป็นมโนกรรม
คือทำด้วยใจ ๓ อย่าง

๘. อนภิชฌา
“ ไม่โลภ ”
๙. อพยาบาท
“ ไม่พยาบาท ผูกโกรธ ปองร้ายเขา ”
๑๐. สัมมาทิฏฐิ
“ มีความเห็นตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสั่งสอนทุกประการ ”

พระอรหันต์
สังโยชน์อีก ๕ ข้อ คือ

๖. รูปราคะ  หลงในรูปฌาน
๗. อรูปราคะ  หลงในอรูปฌาน
๘. มานะ  การถือตัวถือตน
๙. อุทธัจจะ  มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
๑๐.อวิชชา   ไม่รู้ตามความเป็นจริงเรื่องพระนิพพาน


อวิชชา
แปลได้ ๒ นัย คือ
ฉันทะกับราคะ

ฉันทะ
มีอารมณ์พอใจใน
มนุษย์โลก   เทวโลก  พรหมโลก


ราคะ
คิดว่าโลกมนุษย์นี้สวย
เทวโลกนี้สวย
พรหมโลกนี้สวย

             ถ้าบุคคลใดละ  ราคะ  กับ  ฉันทะได้ คือ ความพอใจในโลกทั้ง ๓ และคิดว่าโลกทั้ง ๓ เป็นของดี  ให้ตัดอารมณ์นี้  ก็จะถึงพระนิพพานได้จำไว้นะ  ธรรมะทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจศึกแล้วไม่ปฏิบัติก็ไม่ถึงใจ  เพราะมีแต่กายกับใจเท่านั้น
  ที่เขาปฏิบัติกัน

ให้ทุกคนพิจารณา  ๕  อย่างดังนี้
ทุกวันนะเพราะเป็นคำสอนของพระ
[/b][/u]

๑. ทุกคนควรพิจารณาทุกวันๆ  ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. ทุกคนควรพิจารณาทุกวันๆ  ว่าเรามีความเจ็บเป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓. ทุกคนควรพิจารณาทุกวันๆ  ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ทุกคนควรพิจารณาทุกวันๆ  ว่าเราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบไปทั้งสิ้น
๕. ทุกคนควรพิจารณาทุกวันๆ  ว่าเรามีกรรมเป็นของตน  เราทำดีจักได้ดี  ทำชั่วจักได้ชั่ว


ถ้าทุกคนตั้งกำลังใจใน ๕ ประการนี้
มรรคผลนิพพานก็ถึงได้

๑. ศรัทธา   เชื่อมั่นในคำสั่งสอนของพระรัตนตรัย
๒. ศีล  แปลว่า  ปกติมีความบริสุทธิ์ด้วย  กาย  วาจา  ใจ
๓. พาหุสัจจะ  เป็นผู้ศึกษาและจำมามาก
๔. วิริยารัมภะ  ปรารถนาความเพียร คือ การปฏิบัติของตน
๕. ปัญญา  รอบรู้ในกองสังขาร คือ ขันธ์  ๕


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 15, 2009, 11:11:42 am
พระคาถา

พระคาถามหามงคลโสฬส

โสฬะสะมังคะลัญเจวะ
นะวะโลกุตตะระธัมมะตา
จัดตาโรจะมหาทีปา
ปัญจะพุทธามหามุนี
ตรีปิฎะกะธัมมักขันธา
ฉะกามาวะจะระตะถะ
ปัญจะทะสะภะเวสัจจัง
ทะสะมังสิละเมวะจะ
เตรัสสะธุตังคาจะ
ปาฏิหารัญจะทะวาทะสะ
เอกะเมรุจะ  สุราอัฏฐะ
ทะเวจันทังสุริยังสัคคา
สัตตะโพชฌังคาเจวะ
จุททัสสะจักกะวัตติจะ
เอกาทะสะวิษะณุราชา
สัพเพเทวานังปาละยันตุสัพพะทา
เอเตนะมังคะละเตเชนะ
สัพพะโสตถีภะวันตุเม

ถ้าเป็นคนอื่นให้เปลี่ยนเป็น เต
ถ้าเป็นตนเองให้เป็น เม

พระคาถาแก้ทุกข์

พระอะระหังพุทโธ
อิติปิโส  ภะคะวา
ทุกข์ภัยมีมา  แก้ได้ทุกประการ

ก่อนจะนั่งละลึกถึง
พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์
เวลามีปัญหาแก้ไม่ได้  คิดไม่ออก
ให้นั่งภาวนารู้ลมหายใจเข้าออก 
ภาวนาคาถานี้
พอใจสบายสักพักหนึ่ง
ก็จะรู้วิธีแก้ปัญหา  แก้ทุกข์ได้

พระคาถาลื่นไหล
นาฤคานัง  เมฆะจิตตัง
ปิยังมะมะ
   

เวลามีอุปสรรค์จวนตัว
ให้ภาวนาพระคาถานี้
จะรอดปลอดภัย


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 15, 2009, 11:15:14 am
อิติปิโส  ๘  ทิศ

อิ    ระ     ชา    คะ    ตะ    ระ    สา 
ติ    หัง    จะ    โต    โร    ถิ     นัง
ปิ    สัม    ระ    โล     ปุ    สัต   พุท
โส   มา    ณะ    กะ    ริ     ถา    โธ 
ภะ   สัม    สัม    วิ     สะ    เท    ภะ
คะ   พุท    ปัน   ทู     ธัม    วะ    คะ
วา   โธ     โน   อะ     มะ    มะ    วา
อะ   วิ       สุ     นุ     สา    นุส    ติ
   

ใครได้มั่นท่องเจริญเป็นประจำ
ดุจดั่งเกราะเพชรคุ้มครอง


บารมี  ๓๐  ทัศ

อิติ  ปาระ  มิตาติงสา
อิติ  สัพพัญยู  มาคะตา
อิติ  โพธิมนุปปัตโต
อิติ  ปิโส  จะเตนะโม

แล้วแต่จะใช้เถิด  ประเสริฐนักแล


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 23, 2009, 04:53:04 pm
คาถาแก้วสารพัดนึก
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

นะโม เม  สัพพะพุทธานัง
อุปปันนานัง  มะเหสินัง
ตันหังกะโร  มะหาวีโร
เมธังกะโร  มะหายะโส
สะระณังกะโร  โลกะหิโต
ทีปังกะโร  ชุตินทะโร
โกณฑัญโญ  ชะนะปาโมกโข
มังคะโล  ปุริสาสะโภ
สุมะโน  สุมะโน  ธีโร 
เรวะโต  ระติวัฑฒะโน
โสภีโต  คุณะสัมปันโน
อะโนมะทัสสี   ชะนุตตะโม
ปะทุโม  โลกะปัชโชโต
นาระโท  วะระสาระถี
ปะทุมุตตะโร  สัตตะสาโร
สุเมโธ  อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต  สัพพะโลกัคโค
ปิยะทัสสี  นะราสะโภ
อัตถะทัสสี  การุนิโก
ธัมมะทัสสี  ตะโมนุโท
สิทธัสโถ  อะสะโม  โลเก
ติสโส  จะ  วะทะตัง  วะโร
ปุสโส  จะ  วะระโท  พุทโธ
วิปัสสี  จะ  อะนูปะโม
สีขี  สัพพะหิโต  สัตถา
เวสสะภู  สุขะทายะโก
กะกุสันโธ  สัตถะวาโห
โกนาคะมะโน  ระณัญชะโห
กัสสะโป  สิริสัมปันโน
โคตะโม  สักยะปุงคะโว


พระคาถาก่อนเดินทาง
หรือก่อนขับรถ

พุทโธอยู่ข้างหลัง  พุทธังอยู่ข้างหน้า
ตัวข้าอยู่กลาง  พระสังฆังไปหน้าก่อน
ปฐวี   ปฐวี  ปฐวี
 
ตอนปฐวีให้โบกมือไปข้างหน้า  ๓  ทิศ
ทิศละครั้ง  จะเดินทางแคล้วคาด
ปลอดภัยทุกประการ  คาถานี้ได้จากโยมที่
ตายแล้วฟื้น  บอกว่าพระให้มา


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 23, 2009, 04:56:15 pm
คำอธิษฐาน
           เดชะบุญข้า  ตั้งจิตเจตนา  ศัทธาเปรมปรี  ซึ่งว่าเข็ญใจ  อย่าได้เกิดมีแก่ตัวข้านี้  จนถึงพระนิพพาน  ทุกข์โศกโรคภัย  อย่าได้มาแผ้วพาล  ให้อายุยืนนาน  ให้ได้บวชลูกหลาน  สร้างการกุศล  อุปะเถระกรรม  อย่ามาแทรกงำเมื่อเข้าจราจล  เมื่อข้าดับจิต ชีวิตวายชน  เดชะกุศล  ช่วยแนะนำไปเมื่อข้าว่างจิต  ขอให้นิมิตบังเกิดเร็วไว  ให้เห็นวิมาน  ยาดยานสุกใส  สันทุมเปลวไฟ  อย่าได้เกิดมี  แม้นข้ากำเนิดกลับชาติมาเกิด  ขอให้สูงศักดิ์ศรี  อยู่ในวงศ์ประยูร  ตระกูลผู้ดี  ขัติยะเศรษฐี   มั่งมีเงินทอง  แก้สแหวนแสนทรัพย์สมบัติเนืองนอง  อย่าได้ขัดสน       ยากจนเงินทอง  พงษ์เผ่าพวกพ้อง  ขอให้บริบูรณ์แม้นข้าตายไป  สิ้นชีวาลัย  วิมมานเปรมปรี  เกิดไปชาติใด  ขอให้ใจยินดีศีลทานบารมี  ยิ่ง ๆ ขึ้นไป  ดวงจิตอิจฉา  อย่าได้หลงใหล  ให้มันกำจัดขาดไป  ขาดจากสันดาน  อะเสวะนะ นะโรโอหังอังกาน  อย่าได้นิยมสมาคมคนพาล  อย่าได้เกิดร่วมบ้านร่วมชายเคหา  ขอให้พบนักปราชญ์อยู่ในโอวาท  คำพระเจ้าเทศนา  รู้จักประโยชน์  คุณโทษโทสา  กล่าวคำวาจา  ถูกต้องบาลี  สุภาษิตศัพท์ภาษาวิบัติไม่มี รู้จักมรรคผล  ชี้ช่องกุศลธรรมคัจฉา  รู้แท้แน่ชัด  ยกอรรถออกมาไปสู่มหาสวัสดิ์มงคล  ข้าขออธิษฐานคุณศีลคุณทาน  องการกุศล  สมบัติพัสฐาน  ขอให้ปานพระสุธน  สำเร็จมรรคผล  เป็นพระโสดาบัน  เกิดดับกลับชาติ  ข้าขอให้ขาดืปราศจากราคะ  จะมีพี่น้อง  ขอให้ต้องวิญญาเหล่าวงษ์พงศา  ขอให้ข้าชอบใจ  ว่าง่ายสอนง่าย  รูปโฉมเฉิดฉาย  ล้ำเลิศแดนไตร  มะเร็งกลากเกลื้อน  ขี้เรื้อนพรรณนาใน  กุดถังจังไร อย่าได้เกิดมีขอให้ไกลจาก  วิบัติพลัดพราก ถิ่นฐานบ้านถิ่น  บิดามารดา   พร้อมหน้าอยู่กิน  วาจาสูญสิ้น  สมควรมรณา  หวายตรวนเครื่องจำ  ชาติชั่วสาระยำ  อย่าได้ต้องกายา  เหมือนดินกับฟ้า
          เดชะบุญข้า  ตั้งสัตย์อธิษฐาน
( สำหรับผู้ที่ปรารถนา ) 
ขอให้พบพระศรีอารย์  ขอให้เป็น
( ชาย )  พระอสีติมหาสาวก
( หญิง )  พระอสีติมหาสาวิกา
( กล่าวพร้อมกัน )
     ขอให้ได้อุปสมบทโดย  เอหิภิกขุ  ขอให้ได้สู่พระนิพพาน  นะปัจจะโย  โหตุ


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 23, 2009, 04:57:09 pm
บูชา  ๑๒  ราศี
         อิติปิโสภะคะวา  มือข้าทั้งสิบนิ้วยกขึ้นหว่างคิ้ว  ขอถวายต่างธูปเทียนทอง  จักษุข้าพเจ้าทั้งสอง  อันวาวแวว ขอถวายต่างดวงประทีปแก้ว  ดอกประทุมชาติ  มาบูชาฝ่าพระบาท  องค์พระพุทธเจ้า  อันงามยิ่งนัก  มีวงศ์กงจักร  ทั้งร้อยแปดประการ  พระองค์ได้ตรัสรู้  ทรงเสด็จไปแล้ว  พระทูลกระหม่อมแก้ว  เข้าสู่พระนิพพาน พระองค์ทรงญาณ  เห็ฯไปทั่วแดนไกล พระองค์ทรงรับสั่งไว้  แก่หมู่เวนัย  ให้เร่งปฏิบัติไปในการภาวนา  มะอะอุทุกขัง  มะอะอุอนิจจัง  มะอะอุอนัตตา  พระอะระหังพุทโธ  อิติปิโวภะคะวา ทุกข์ภัยมีมา  แก้ได้ทุกประการ  พระทรงพรหมวิหาร  ตั้งมั่นในอุเบกขา โปรดสัตว์ทั่วทิศ  พระองค์ทรงฤทธิ์แกล้วกล้า  ทรงพระกรุณา  ดับทุกข์ดับเข็ญ  พระทรงเล็งเห็น  ทุกทั่วตัวสัตว์  จงมาช่วยกำจัด  คุ้มโพยกันภัย  ขอให้ได้รับความสุข  ไปทุกทิวาราตรี  เดชะบารมี  ทั้งสามสิบทัศ  พุทโธกำจัด  ธรรมโมกำจาย  สังโฆสูญหาย  ศัตรูทั้งหลาย  สูญหาย ณ บัดนี้  ด้วยอำนาจบารมี  ทั้งสี่อสงไขย  กำไรแสนกัป  ด้วยพระมากกัณฑ์  มาช่วยคุ้มครอง  ช่วยป้องช่วยกัน  เทวดาบนสวรรค์ มาช่วยกันรักษา  พระเสื้อเมืองทรงเมือง  อัเนรืองฤทธิ์ทา  ทั่วโลกโลกามาช่วยข้า ณ บัดนี้ ทั้งอารักษ์เทวดา บรรดาเทพา  ทั้งสิบสองราศี ขออย่ามีมาร  อย่าเป็นกาลกิณี  คนชั่วไม่มีอย่าเข้ามาปะปนคนใจร้ายอกุศลขอให้พ้นไปไกล  พระอาทิตย์หกองค์ลงมาประชุม  คุ้มเสนียดจัญไร  พระจันทร์โทสิบห้า  มารักษาภายใน  พระอังคารแปดพระองค์  ส่งศีลมาให้พระพุทธสิบเจ็ด   เสด็จมาปกป้องพระเสาร์เข้าครอง  กำลังสิบทัศ  มาช่วยกำจัด  มหาอุบาทว์  ที่เป็นยมราชร้ายกาจหนักหนา  ศัตรูมีมา มอดมวยบรรลัย  ศัตรูที่ไหน  บรรลัยที่นั่น พระพฤหัสสิบเก้า  เข้ามาโดยพลันเป็นครูช่วยกัน  จัดสรรให้งาม  พระราหูสิบสอง  ช่วยป้องมองตาม  ปัดเป่าให้งาม  อย่าได้เดียดฉันท์  พระศุกร์เทวัน  มาช่วยกันรัก  ยี่สิบเอ็ดโดยมีพระเกตุมาลี  รักษาเก้าพระองค์  พระคาถานี้ มีใจจำนง  กำหนดโดยสิบสองราศี  เทวดาทั้งนี้  มาช่วยขัดสีเสนียดจัญไร  มรรคญาณผลคะญาณพระประทานมาให้  เทวดาองค์ใดที่รักษ์ที่จำ  มาช่วยคุ้มครอง  ช่วยป้องช่วยกัน  เทวดาบนสวรรค์ ทั้งสิบสองราศี  จุติบันดาล  มรณะบันดาล  เข้าสู่พระนิพพาน  นับล้านโกฎิปี  พระองค์ทรงโปรด ทั่วทั้งธรณี  ได้บวชได้เรียนได้เขียนบาลี  โพยภัยอย่ามี  จงกำจัดไปไกล  พระธรรมแปดหมื่น  ชื่นอกชื่นใจ  พระธรรมมา
เป็นมิตร  สุจริตพิสมัย  คุณมนต์คุณคน  ทนอยู่ไม่ได้ศัตรูภายนอก ขอให้ออกไปไกล  บรรลัยสิ้นสุด   เดชะพระพุทธมาหยุดอยู่เบื้องหน้า  พระธรรมมาสถิดเบื้องหลัง  พระสังฆังรักษา พระอิศวรเจ้าฟ้า  เสด็จมารักษาทั่วกายองค์พระนารายณ์ มาอยู่เบื้องซ้ายขวาพระพรหมเทวดา อยู่เบื้องสวรรค์  เสด็จลงมารักษาข้าทุกวัน  เทวดาบนสวรรค์มาช่วยกันรักษา  พระกาฬตัวกล้า มาช่วยพลาญศัตรู  ทั่วทั้งชมพู  ขออย่ามีอันตราย  พุทโธแคล้วคาด  ธัมโมกัน อุบาทว์ เสนียดจัญไร สังโฆพระสงฆ์มาดำรงฉัตรชัย อยู่ ณ แห่งใด ให้ได้รัความสุข พ้นทุกข์พ้นโศก หมดโรคหมดภัย หมดอุบาทว์จัญไร  ใจสร้างกุศล ที่ตกหล่น ขอให้เพิ่มพูนบารมี  แก่ข้าพเจ้านี้จนถึงพระนิพพาน ไปภายภาคหน้า  พุทธังรักษา  ธัมมังรักษา  สังฆังรักษา  อะหังวันทา 
 มิทุระโต  อะหังวันทา  มิทาตุโย  อะหังวันทา  มิสัพพาโส  สะลิเมนาโถ  อิติปิโสภะคะวา  พุทโธมีกำลัง  สะลิเมนาโถ  อิติปิโสภะคะวา  ธัมโมมีกำลัง  สะลิเมนาโถ  อิติปิโสภะคะวา  สังโฆมีกำลัง   อะระหังพุทโธ  นะโมพุทธายะ  นะมะภันเต


หัวข้อ: Re: ข้อธรรมจากหนังสือ"อิ"
เริ่มหัวข้อโดย: kaew ที่ เมษายน 23, 2009, 04:58:48 pm
คาถาหลวงปู่เอี่ยม
วัดเขาปกล้น  อำเภอท่าวุ้ง
จังหวัดลพบุรี

นะโมพุทธายะ
อิสะหวาสุ  สุสะหวาอิ
อะนะ  อุนะ  มะนะ
(ชื่อ..........................) นะ

ใช้สำหรับเวลาสอบ  ติดต่องานท่องแล้ว
ให้เอาดินให้เอาดินในสถานที่นั้นโรยศีรษะ



คำขออาหารพระภิกษุสงฆ์
หลังพิจารณาแล้ว

         อาเสสา  ภาคาโว  อัมหากัง  ปาปูนันติ  ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย  พึงขออาหารที่พระคุณเจ้าได้พิจารณาเหลือแล้ว  เพื่อมาเลี้ยงดูผู้ที่มาบำเพ็ญกุศลในครั้งนี้  จงอย่าได้มีบาปมีกรรมติดตัวแก่ข้าพเจ้าไป เพื่อความเบาใจแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  เมื่อใดพระภิกษุสงฆ์อนุญาตแล้ว โปรดสาธุขึ้นพร้อมกันด้วย  เทอญ.
( กำหนดขออาหารตอนพระฉันแล้ว )


คำถวายสังฆทาน

            อิมานิ  มะยังภันเต  พุทธปฏิมากร ติจีวะรานิ  สังฆทานานิ  สะปะริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ  โอโนชะยามะ  สาธุโนภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  พุทธปฏิมากร  ติจีวะรานิ  สังฆทานานิ  สะปะริวารานิ  ปฎิคันหาตุ  อัมหากัง  ทีฆะระตัง  หิตายะ  สุขายะ

          ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้สทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  พระพุทธปฏิมากร  โตรจีวร  พร้อมด้วยสังฆทาน  กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แด่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์พึงรับ  เพื่อประโยชน์และความสุข แด่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอให้ถึงซึ่งพระนิพพาน  ในชาติปัจจุบันนี้ คำว่าไม่รู้  คำว่าไม่มี  คำว่าอด  คำว่าไม่สำเร็จ  จงอย่าได้เจอ  ขอให้มีผลตั้งแต่ชาติปัจจุบันนี้  โดยฉับพลัน  ณ  กาลบัดนี้ เทอญ